Shambhala Retreat กับ ณัฐฬส วังวิญญู และ วิจักขณ์ พานิช 19-23 ก.ค. 67

SHAMBHALA RETREAT
natural awareness
5-day intensive warriors’ gathering
กับ ณัฐฬส วังวิญญู และ วิจักขณ์ พานิช
19-23 กรกฎาคม 2567
ณ อาศรมวงศ์สนิท
จังหวัดนครนายก

ชัมบาลารีทรีท นำคำสอนชัมบาลา ของ เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช มาทำความเข้าใจและฝึกฝนอย่างเข้มข้น ในบริบทของความสัมพันธ์ ทั้งกับตัวเอง ผู้อื่น และจักรวาลอันศักดิ์สิทธิ์

ประสานการภาวนา Somatic Meditation เข้ากับการตระหนักรู้อย่างเข้มข้น ในมุมมองของ Natural Awareness และ The Great Perfection

เริ่มกิจกรรม 9.00 น. ของวันที่ 19 กรกฎาคม
เลิกกิจกรรม 16.00 น. ของวันที่ 23 กรกฎาคม

ค่าใช้จ่ายรวมอาหารและที่พัก
ท่านละ 12,500 บาท / ท่าน – (พักคู่ หรือ หอพักรวม)
(ราคา Activity Member ลด 10% เหลือ 11,250 บาท)
*หากต้องการพักเดี่ยวเพิ่ม 2,500 บาท

“ถ้าเราอยากพัฒนาตัวเองให้เผชิญกับความทุกข์ได้ สิ่งสำคัญอย่างแรกคือการยอมรับความเศร้าของตัวเอง อนุญาตให้ตัวเอง “broken heart” หรือ ปล่อยให้หัวใจแตกสลาย ซึ่งจริงๆ สิ่งที่แตกสลายก็คืออีโก้ หรือ ตัวตนของเรานั่นแหละ ในภาวะของการแตกสลาย เราจะไม่มีความกลัวหลงเหลืออยู่เลย และกระบวนการนี้จะเปลี่ยน “ความแข็ง” ภายในตัวเราให้ “อ่อนนุ่ม” ซึ่งความอ่อนนุ่มนี้ แท้จริงคือความเมตตากรุณาที่เราสามารถมีต่อตัวเอง และเผื่อแผ่ไปสู่ผู้อื่นได้ ในมุมมองของเชอเกียม ตรุงปะ จึงกล่าวถึงคุณสมบัติหนึ่งของนักรบว่าเป็นผู้กล้า ที่พร้อมจะไม่เหลืออะไร ไม่เป็นใคร ไม่รักษากักเก็บสิ่งใด ยอมพัง และแตกสลาย”

– ณัฐฬส วังวิญญู –

———————–

“กุญแจที่ไขสู่ความเป็นนักรบและหลักการเบื้องต้นของญาณทัศนะชัมบาลา คือการไม่กลัวความจริงในตนเอง

ไม่ว่าเราจะเป็นใครก็ตาม ถึงที่สุดแล้ว คำจำกัดความของความกล้าก็คือ ‘ไม่กลัวตัวเอง’ ญาณทัศนะชัมบาลาสอนดังนั้น เบื้องหน้าปัญหาอันยิ่งใหญ่ของโลกซึ่งเรากำลังเผชิญหน้าอยู่ เราก็อาจหาญกล้าและเมตตาได้ในขณะเดียวกัน

ญาณทัศนะชัมบาลา คือสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามกับความเห็นแก่ตัวเมื่อเราเริ่มกลัวตัวเองและกลัวภัยคุกคามจากโลกปัจจุบัน เมื่อนั้นเรากลับเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ เราปรารถนาจะสร้างรังเล็กๆ ของตนขึ้น สร้างเปลือกขึ้นห่อหุ้มตัวเอง เผื่อว่าเราจะได้อยู่เพียงลำพังอย่างปลอดภัยในนั้น

ในขณะที่ทุกๆ คนต่างมีภาระรับผิดชอบที่จะต้องช่วยเหลือโลก แต่การณ์กลับจะเป็นว่าเราไปก่อกวนให้ยุ่งเหยิงมากยิ่งขึ้นหากเราพยายามจะไปยัดเยียดความคิดของเราหรือยัดเยียดความช่วยเหลือให้แก่ผู้อื่น

รากแก้วของญาณทัศนะชัมบาลามีว่า ในการที่จะสถาปนาสังคมอริยะสำหรับมนุษย์ เราจำเป็นที่จะต้องค้นให้พบว่าเรามีของจริงสิ่งแท้อะไรอยู่ในตัวบ้าง ซึ่งอาจสามารถมอบให้แก่โลก นั่นก็คือแรกสุดเราจะต้องพยายามพิจารณาดูประสบการณ์ของเราทั้งหมดเพื่อที่จะหยั่งเห็นให้ได้ว่าเรามีสิ่งมีค่าอะไรอยู่ในตัว ซึ่งจะสามารถช่วยยกระดับสภาวะความเป็นอยู่ทั้งของตนเองและผู้อื่น”

– เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช –