“พุทธศาสน์นาลันทา” หลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาร่วมสมัย – Module 2 : The Three Turnings การหมุนกงล้อพระธรรม 3 ครั้งของพุทธะ

พุทธศาสน์นาลันทา
หลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาร่วมสมัย (Contemporary Buddhist Studies) โดย วัชรสิทธา

Module 2 : The Three Turnings การหมุนกงล้อพระธรรม 3 ครั้งของพุทธะ

กรกฎาคม 2567 – ตุลาคม 2567

🎈สมัครเรียน “ทั้ง Module 2”
11,000 บาท
(จากราคาเต็ม 12,750 บาท)
*ไม่สามารถใช้ส่วนลด สมาชิกกิจกรรมวัชรสิทธาได้

รับจำนวนจำกัด 20คน
หากไม่เต็มจึงจะเปิดรับรายวิชา

ในทรรศนะของพุทธศาสนาแบบทิเบต ศากยมุนีพุทธะได้ “หมุนกงล้อพระธรรม” ทั้งหมดสามครั้งตลอดช่วงชีวิตของท่าน ซึ่งการหมุนกงล้อพระธรรมในแต่ละครั้งพุทธะได้มอบชุดคำสอนที่สดใหม่ แตกต่างจากครั้งก่อนหน้า ในแง่มุมหนึ่งความแตกต่างของรูปแบบคำสอน แสดงให้เห็นถึงทรรศนะที่เหมาะสมกับการฝึกฝนและความเข้าใจธรรมะในระดับที่แตกต่างกัน ทั้งยังเป็นการมอบแนวคิดพื้นฐานใหม่ ที่ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปใช้เพื่อความก้าวหน้าในการภาวนาได้

พุทธศาสน์นาลันทา Module 2 คือคลาสเรียนปริยัติ ที่จะเสริมสร้างความเข้าใจคำสอนในการหมุนกงล้อธรรมทั้งสามครั้งของพุทธะ และชวนผู้เรียนให้มองเห็นความเชื่อมโยง รวมถึงพัฒนาการที่เกิดขึ้นของคำสอน จากธรรมแห่งหินยาน สู่ธรรมแห่งมหายาน ที่หากมองจากภาษาหรือการอธิบายคำสอนอาจพบความแตกต่างที่ชัดเจน ทว่าโดยเนื้อแท้แล้วธรรมทั้งสองรูปแบบไม่มีความขัดแย้งระหว่างกัน มากไปกว่านั้นคือไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างสิ้นเชิง

หลักสูตรนี้จึงเหมาะกับผู้ที่สนใจเรียนรู้พุทธธรรมอย่างเข้มข้นและครอบคลุมทุกแง่มุมสำคัญที่พุทธะเคยแสดงไว้ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเข้าในภาพรวมของพุทธธรรมและการเกิดขึ้นของยานทั้งสาม (ไตรยาน) ในพุทธศาสนา ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งกับผู้ที่สนในพุทธธรรมในแง่มุมของวิชาการ และผู้ปฏิบัติภาวนาที่อยากทำความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนมากยิ่งขึ้น

ทุกคลาสในหลักสูตรนี้จะมีเอกสารประกอบการเรียน การบ้าน การเขียนงาน และการสนทนาแลกเปลี่ยนในห้องเรียน

Module 2 : The Three Turnings การหมุนกงล้อพระธรรม 3 ครั้งของพุทธะ

มีรายวิชาทั้งหมด 3 วิชา

1) First Turning of the Wheel of Dharma : การหมุนกงล้อพระธรรมครั้งที่หนึ่ง
โดย วิจักขณ์ พานิช

ตารางเรียน
6-7 ก.ค. 67 เวลา 9.00-17.00 น. ณ วัชรสิทธา
9 ก.ค. 67 18.30-20.30 น. ออนไลน์

พุทธะหมุนกงล้อพระธรรมครั้งแรกด้วยคำสอนเรื่องความทุกข์และหนทางสู่การดับทุกข์ ในโลกทัศน์ไตรยานของพุทธศาสนาทิเบต การหมุนกงล้อพระธรรมครั้งแรก เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า “หินยาน” ซึ่งเป็นธรรมะที่มีเป้าหมายคือการพ้นทุกข์ส่วนตน (Individual Liberation) การเรียนรู้ธรรมในชุดคำสอนหินยาน (อภิธรรม) จะทำให้เราตระหนักถึงความไม่มีตัวตนของ “ตัวฉัน” ซึ่งการรู้แจ้งในธรรมขั้นนี้จะนำไปสู่การละวางตัณหาและการดับแห่งทุกข์

เนื้อหาสำคัญในธรรมะหินยานคือเรื่อง อริยสัจสี่ ข้อเตือนใจสี่ประการ กรรม ขันธ์ห้า ปฏิจจสมุปบาท สังสารวัฎ-นิพพาน ความจริงแยกย่อย (Elemental Reality) สมถะ-วิปัสนา และวัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ เป็นต้น

2) Second Turning of the Wheel of Dharma : การหมุนกงล้อพระธรรมครั้งที่สอง
โดย วิจักขณ์ พานิช และ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง

ตารางเรียน
10-12 ส.ค. 67 เวลา 9.00-17.00 น. ณ วัชรสิทธา

การหมุนกงล้อพระธรรมครั้งที่สอง พุทธะสื่อสารคำสอนที่เป็นสภาวะธรรมสูงสุด (Ultimate Truth) คือเรื่องความว่าง ซึ่งเป็นการยกระดับกระบวนทัศน์ที่ชี้ให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนของสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นตัวเรา สิ่งแวดล้อม หรือ ธรรมทั้งปวง การพลิกเปลี่ยนของชุดคำสอนจากความจริงระดับสมมุติ สู่ความจริงระดับปรมัตถ์ ทำให้ธรรมะกลายเป็นสิ่งที่ข้ามพ้นภาษา ความคิด และการตีความ แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์ตรงที่เราสามารถมีต่อศูนยตาซึ่งเป็นสิ่งที่มิอาจอธิบายได้

การเรียนรู้เรื่องความจริงสูงสุด หรือ ความว่าง อันเป็นแก่นแท้ของสรรพสิ่ง จะทำให้เราเข้าใจมุมมองที่เปลี่ยนไปในประเด็นเรื่องการหลุดของ การหมุนกงล้อพระธรรมครั้งที่สองคือจุดเปลี่ยนจากหินยานหรือยานเล็กส่วนบุคคล สู่มหายานหรือยานใหญ่เพื่อสรรพสัตว์ทั้งปวง เพราะเมื่อเราตระหนักถึงความไม่มีตัวตนของทั้ง “ตัวฉัน” และ “ธรรมทั้งปวง” เราจึงไม่อาจพบการหลุดพ้นที่เป็นเรื่องส่วนตนอีกต่อไป ในเมื่อสรรพสิ่งล้วนเชื่อมร้อยสัมพันธ์กันอย่างไม่อาจแยกขาด นี่จึงเป็นที่มาของวิถีโพธิสัตว์ที่ปรารถนาในการพาสรรพสัตว์ทั้งหมดสู่การหลุดพ้น

เนื้อหาในการหมุนกงล้อพระธรรมครั้งที่สองนี้ มี ปรัชญาปารมิตาสูตร และพระสูตรที่เกี่ยวข้อง อาทิ วิมลเกียรตินิทเทสสูตร โพธิสัตว์จรรยาวตาร หลักมาธยมิกเบื้องต้น Definitive Meaning (Ngedon) vs Indicative Meaning (Trangdon) คำสอนโพธิจิต ปารมิตาหก การภาวนาแบบมหายาน เป็นต้น

3) Third Turning of the Wheel of Dharma : การหมุนกงล้อพระธรรมครั้งที่สาม
โดย วิจักขณ์ พานิช

ตารางเรียน
5-6 ต.ค. 67 เวลา 9.00-17.00 น. ณ วัชรสิทธา
8 ต.ค. 67 18.30-20.30 น. ออนไลน์

การหมุนกงล้อพระธรรมครั้งที่สามคือการหมุนกงล้อธรรมครั้งสุดท้ายของพุทธะ สิ่งที่พุทธะได้สื่อสารคำสอนในครั้งนี้มีอยู่สองทบ หนึ่งคือ หลักธรรมชาติสาม (ไตรสวภาวะ) และสองคือ ธรรมชาติแห่งพุทธะ ซึ่งเป็นชุดคำสอนที่กล่าวถึงความจริงระดับปรมัตถ์ที่สมบูรณ์และไร้เทียมทาน โดยมีสำนักคิดสำคัญที่สนับสนุนและอธิบายคำสอนชุดนี้อย่างเป็นระบบ นั่นคือสำนักโยคาจาร

คำสอนในการหมุนกงล้อพระธรรมครั้งนี้ ชี้ให้เห็นถึงลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของความว่าง ที่ยืนยันความไม่ขาดสูญของศูนยตา ทั้งยังกล่าวถึงความว่างในฐานะสิ่งที่ไม่อาจแยกขาดจากความกรุณา ปัญญาญาณ และพลังอำนาจ ซึ่งเป็นธรรมชาติเนื้อแท้ หรือ ธรรมชาติแห่งพุทธะ ของเราทุกคน คำสอนในการหมุนกงล้อพระธรรมครั้งนี้เป็นรากฐานของการพัฒนาคำสอนสู่ยานที่สามของพุทธศาสนา – วัชรยาน

เนื้อหาในการหมุนกงล้อพระธรรมครั้งที่สาม มี หลักธรรมชาติสาม ธรรมชาติแห่งพุทธะ (พุทธภาวะ) แนวคิดเรื่องความว่างของสำนักคิดเชนทงและรังทง เป็นต้น