
พื้นที่ของการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ที่เปิดกว้าง
What’s new
เจตจำนง : อำนาจในการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้กับความต้องการที่แท้จริงของเรา
บทความโดย TOON วัชรสิทธา “ความอยาก” ในชีวิตของคุณมีอะไรบ้าง บางทีไม่ต้องใช้เวลานึกนาน ลิสต์ของสิ่งที่อยากได้ สิ่งที่อยากเป็น ก็พรั่งพรูในความคิด อยากกินน้ำหวาน อยากกินของอร่อย อยากนอนให้เต็มอิ่ม อยากหยุดพักจากงาน อยากมีสุขภาพที่ดี อยากเป็นที่รัก อยากประสบความสำเร็จ อยากให้คนใกล้ชิดมีความสุข อยากแบ่งปันให้ผู้อื่น ฯลฯ ในชีวิตเรา เมื่อมองไปยังหมวดหมู่ของความอยาก บ่อยครั้งเราอาจพบว่ามันมีจำนวนมากเสียจนแทบไม่มีที่สิ้นสุด แถมความอยากก็ยังเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา แม้แต่ในวันเดียวกันตอนเช้าอาจจะอยากแบบนึง ตอนบ่ายอีกแบบ ก่อนนอนก็อีกเรื่อง แล้วเราจะทำให้ทุกความอยากเป็นจริงได้ไหม? อาจเป็นคำตอบที่ไม่ตรงไปตรงมานักแต่จริงๆ แล้ว เรา “ไม่จำเป็น” ต้องทำให้ทุกความอยากกลายเป็นจริงก็ได้ ในช่วงหนึ่งของเวิร์คช็อป Subtle Activism “ปรับพลังงานในใจ เปลี่ยนความเป็นไปรอบตัว ที่สถาบันวัชรสิทธา อ.อัน อันธิฌา แสงชัย ได้ชวนเราไปหาคำตอบว่าความอยากที่มากมายไม่หมดสิ้นของเราจะสามารถกลั่นออกมาให้เหลือเพียงไม่กี่อย่างที่จำเป็นกับชีวิตจริงๆ ได้อย่างไร แล้วจากนั้นจะมีวิธีไหนที่ช่วยเสริมสร้างแรงผลักดันจนเราบรรลุเป้าหมายได้อย่างแท้จริง สิ่งที่ อ.อัน เสนอให้ทุกคนในห้องเรียนลองทำคือ “การตั้งเจตจำนง (Intention)” ซึ่งไม่ใช่แค่หยิบสุ่มบางความอยากมาเลื่อนขั้นให้เจตจำนงเฉยๆ แต่มีกระบวนการและลำดับขั้นตอนต่างๆ ที่จะช่วยให้เราร่อนความอยากที่ไม่ใช่สิ่งจำเป็นกับชีวิต หรือไม่ได้เป็นความต้องการจริงๆ ของเราออกไป กระบวนการที่ […]
สำนึกของดอกไม้ : การแสดงตน และร่ายรำในพื้นที่ว่าง
บทความโดย KONG วัชรสิทธา ในฐานะอดีตนักเรียนศิลปะคนหนึ่งซึ่งมีความรู้ความเข้าใจทางศิลปะผ่านการเรียนในสถาบันและประสบการณ์ทางโลกศิลปะมาแบบนึง เมื่อได้มีโอกาสร่วมคลาสเรียน “ดอกไม้สื่อใจ ขั้น 1” ในเดือนกุมภา ฯ ที่ผ่านมา ชั้นเรียนดังกล่าวว่าด้วยแนวทางของศิลปะการจัดดอกไม้แบบ “อิเคบานะ” ควบคู่ทั้งทางด้านเนื้อหาทฤษฎีและการปฏิบัติ ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์ทางศิลปะที่เคยมี ชนิดที่ว่าพลิกผันมุมมองเชิงศิลปะ-ทัศนศิลป์จากประสบการณ์ที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง ในโลกของงานศิลปะ ตัวผลงานโดยทั่วไปมักจะมีแนวความคิด หรือข้อความที่ต้องการสื่อสารให้ผู้ชมได้รับรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศิลปะที่เน้นการใช้ความคิดเพื่อสื่อสารทัศนคติ ความเชื่อ หรือหลักปรัชญาบางประการ ก่อนที่จะออกผลสำเร็จมาเป็นชิ้นงานจริงนั้น จำต้องผ่านการร่างแบบ คัดสรรสื่อและวัตถุดิบที่ต้องการ การคำนึงถึงหลักองค์ประกอบศิลป์ ฯ เพื่อให้สอดรับกับแนวความคิดที่ต้องการสื่อสารออกไป ซึ่งในหลายต่อหลายครั้ง ท่าทีดังกล่าวมักมีแนวโน้มของการ “ยัดเยียดความคิดของผู้สร้างสรรค์แก่ผู้ชมอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการคล้อยตามความคิดของผู้สร้างสรรค์โดยใช้งานศิลปะเป็นสื่อกลางในการรับใช้ concept ที่ต้องการส่งต่ออีกทอดหนึ่ง ผ่านความชำนิชำนาญทางการจัดการเชิงศิลปะ ในขณะที่เริ่มศึกษาการจัดดอกไม้อิเคบานะ มีความเป็นได้อย่างใหม่เกิดขึ้นเป็นหน่ออ่อน ๆ ซึ่งเริ่มแตกยอดแทรกผ่านความเข้าใจทางศิลปะแบบเดิมออกมา ทั้งทางด้านรูปแบบการเรียนที่ถือเป็นประสบการณ์อย่างใหม่สำหรับตัวผู้เขียน เพราะเป็นการศึกษาศิลปะแขนงนึงซึ่งจัดอยู่ในหมวด tradition อันมีปูมหลังทางวัฒนธรรมมาอย่างเข้มข้น มีพัฒนาการทางด้านรูปแบบและปรัชญามาอย่างยาวนาน ทว่ายังคงสามารถแสดงสุนทรียะในแนวทางของตนได้อย่างสง่างามและเป็นสากล จุดพลิกผันสำคัญซึ่งถือเป็นกุญแจในการไขสู่ความเข้าใจปรัชญาทางศิลปะประเภทนี้คือ การเปิดนิยามต่อมุมมองของ “ความก้าวร้าว” ซึ่งในที่นี้ไม่ใช่การแสดงออกที่ดูรุนแรง เช่น การใช้กำลัง หรือ อาการหัวฟัดหัวเหวี่ยง เสมอไป หากคือแนวทางที่เราตีกรอบความคิด […]
Oedipus Complex : ปมโอดิปุสที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์กับครูทางจิตวิญญาณ
บทความโดย THANYA วัชรสิทธา ปรากฏการณ์ปมปัญหาระดับสากล ที่ปรากฎอยู่ในเรื่องเล่า ตำนานพื้นบ้าน บทละครกรีก ที่หลายคนน่าจะเคยผ่านตา จุดร่วมของพล็อตนี้คือ ตัวละครผู้ชาย (โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว) ฆ่าพ่อตัวเอง จากนั้นก็ร่วมรักกับแม่ จากพล็อตเรื่องที่ฟังดูผิดศีลธรรม ซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยาที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่ศาสตร์จิตวิทยา ได้นำไปพัฒนาต่อในการมองปัญหาทางจิตวิทยาที่เกิดขึ้นกับเด็กระหว่างช่วงเจริญเติบโต แนวทางการศึกษาจิตวิทยาของฟรอยด์จะสนใจเกี่ยวกับเรื่องเพศและความต้องการทางเพศ ฟรอยด์มองว่ากระบวนการทางเพศของมนุษย์ที่วางอยู่บนรากฐานพัฒนาการทางร่างกาย เป็นกระบวนการสำคัญมากที่จะส่งผลไปถึงจิต ดังนั้นการวิเคราะห์อาการป่วยทางจิตของฟรอยด์ จึงมักโยงกลับไปหาปรากฏการณ์ทางเพศที่เกิดขึ้น ซึ่งมีทั้งส่วนที่นักจิตวิทยายอมรับและเห็นต่าง แต่ในยุคสมัยนั้นก็เรียกได้ว่าเป็นแนวทางใหม่ที่ก้าวหน้า และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่วงการจิตวิทยาหลังจากนั้นต่อมา Oedipus Complex ปมทางจิตที่ฟรอยด์นำชื่อมาจากตัวละครในบทละครคลาสสิกของกรีก เรื่องราวของ โอดิปุส ลูกชายของกษัตริย์องค์หนึ่งที่ได้รับคำทำนายว่า ลูกชายเกิดมาเพื่อจะฆ่าตน จึงสั่งให้คนเอาโอดิปุสไปฆ่าทิ้ง แต่โอดิปุสรอดมาได้และเติบโตกับครอบครัวบุญธรรม ต่อมาเขารับรู้ถึงคำทำนายว่าตัวเองจะฆ่าพ่อ จึงออกมาจากครอบครัวนั้นเพราะเข้าใจผิดว่านั่นคือพ่อที่แท้ของตน ระหว่างการเดินทาง ก็บังเอิญเจอกษัตริย์พ่อแท้ๆ เกิดเหตุการณต่อสู้กันและฆ่าพ่อไปโดยไม่รู้ตัว จากนั้นโอดิปุสก็เดินทางไปถึงเมืองบ้านเกิด และมีเหตุการณ์ที่ทำให้ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ แต่งงานกับราชินีหม้าย ซึ่งจริงๆ แล้วคือแม่แท้ๆ ของเขา ภายหลังเมืองเกิดภัยพิบัติจากการที่เทพเจ้าลงโทษต่อความวิปริตผิดศีลธรรมและทั้งคู่ได้รู้ความจริง แม่ของเขาฆ่าตัวตาย โอดิปุสแทงตาตัวเองให้บอดและตายอย่างอนาถในภายหลัง เรื่องราวสุดขั้วนี้ถูกตีความไปหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเตือนใจให้คนรักษาศีลธรรมต่อพ่อแม่ หรือแสดงถึงสภาวะเบื้องลึกบางอย่างที่มีร่วมกันของมนุษย์ Freud’s Oedipus Complex […]