“ปูชา” มนตร์ : ประตูสู่ความศักดิ์สิทธิ์ กับ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง 16-17 มี.ค. 67

ปูชา
มนตร์ : ประตูสู่ความศักดิ์สิทธิ์

กับ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง

วันเสาร์ อาทิตย์ที่ 16-17 มีนาคม 2567
เวลา 10.00-18.00 น.
ณ วัชรสิทธา

ลงทะเบียน 3,850 บาท / ท่าน
ราคาสมาชิกกิจกรรม เหลือ 3,465 บาท/ ท่าน

หมายเหตุ เรียนในพื้นที่จริง ไม่มีฟังย้อนหลัง

“มนตร์” เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวกับชีวิตของเราชาวไทยอย่างแยกไม่ออก เพราะทั้งพิธีกรรม ประเพณีต่างๆ ของเรา ล้วนมีมนตร์ประกอบด้วยทั้งสิ้น แต่จริงๆ แล้วมนตร์คืออะไร ศักดิ์สิทธิ์จริงไหม เราจะนำเอามนตร์ต่างๆ มาใช้งานยังไง คลาสนี้อ.ตุลจะพาเราไปหาคำตอบเหล่านั้นผ่านทฤษฎีและประสบการณ์ตรง

ผู้เรียนจะได้รับการปูพื้นฐานความเข้าใจ โดยเริ่มจากไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สำหรับมนตร์ทั้งฮินดูและพุทธ เรียนรู้ตัวอักษร การออกเสียง ความหมาย และประเภทของมนตร์ จากนั้นก็จะได้ฝึกการภาวนาด้วยมนตร์ เพื่อเชื่อมต่อกับประตูสู่ความศักดิ์สิทธิ์ รวมไปถึงการใช้งานมนตร์ในรูปแบบต่างๆ มากไปกว่านั้น คลาสเรียนนี้อ.ตุลจะเชิญชวนให้ผู้เรียนเขียนมนตร์ของตัวเองขึ้นมา เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ พิธีกรรม หรือเชื่อมต่อสัมพันธ์กับสิ่งที่เราปรารถนา

“เราอาจทำความเข้าใจมนตร์ได้จากสองแง่มุม มุมแรกคือมนตร์ในฐานะเครื่องมือหนึ่งในการสัมพันธ์กับ True self, Devine being, เทพ หรือ พระเจ้า ในบางคำอธิบาย กล่าวว่าเราไม่อาจสัมพันธ์กับสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยภาษาธรรมดา แต่สัมพันธ์ได้ด้วย “คลื่น” ซึ่งมนตร์ต่างๆ ก็มีคลื่นความถี่ที่เฉพาะเมื่อเราเปล่งเสียงออกมา มันจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้เพื่อสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ อีกความหมายหนึ่งของมนตร์ คือการเป็น “เครื่องมือปกป้องจิตใจ” จากสภาวะหรือสถานการณ์ต่างๆ เมื่อเราใช้มนตร์จนเป็นเนื้อเป็นตัวแล้ว มนตร์จะแสดงถึงผลของมันออกมาในช่วงเวลาที่คับขัน”

– คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง

เนื้อหาที่จะได้เรียนรู้

  • ทบทวนแนวคิดพื้นฐานเรื่องการบูชา
  • ประเภทของมนตร์
  • การออกเสียงมนตร์ในภาษาสันสกฤต 
  • การอ่านและทำความเข้าใจไวยากรณ์สันสกฤตเบื้องต้น
  • การภาวนาด้วยมนตร์
  • ฝึกการใช้มนตร์และการปฏิบัติพิธีกรรม
  • ออกแบบและประพันธ์มนตร์ด้วยตนเอง

วิทยากร

ผศ. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศึกษาเรื่องพิธีกรรมตลอดจนคำสอนของศาสนาฮินดูทั้งในฐานะงานวิชาการและความสนใจส่วนตัวเป็นเวลากว่าสิบปีจากท่านอาจารย์บัณฑิตลลิต โมหัน วยาสและบัณฑิตพรหมานันทะ ทวิเวที พราหมณ์ชาวอินเดีย

ปัจจุบันนอกเหนือจากงานสอนเกี่ยวกับปรัชญาอินเดีย ศาสนาฮินดูและรายวิชาอื่นๆที่มหาวิทยาลัย ยังเป็นคอลัมนิสต์ วิทยากรในรายการสื่อออนไลน์ และวิทยากรประจำของวัชรสิทธา